dimanche 12 janvier 2014

ชื่อโครงงาน  La bonnes choses de Chiang Mai

คณะ

๑) นางสาวพิชามญชุ์             ออมสิน   เลขที่๖

 (หัวหน้ากลุ่ม)
๒) นางสาวอาภาศิริ               เมืองใจ   เลขที่ 
๓) นางสาวนิภาพร                ชัยยา     เลขที่ ๑๓
๔) นางสาวราตรีกฤษณา        มานะกิจ   เลขที่ ๑๒
๕) นางสาวฐิติญา                  ใจเชื่อม   เลขที่ ๑๑
๖) นายอภิสิทธิ์                         ปัญจมา    เลขที่ 
๗) นางสาวชนากานต์              เรือนงาม   เลขที่ 

คุณครูที่ปรึกษา         คุณครู ปาริชาติ   สุทธิเวทย์

คุณครูที่ปรึกษาร่วม   คุณครู จรัล เข็มขาว   

คุณครู วรรณภา   อินตารัตน์


ขั้นตอนดำเนินงาน

๑) ปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อคิดหัวข้อโครงงานและร่วมกันคิดวางแผนในการทำงานวันแรกได้วางแผนโครงงานและปรึกษา
2. ปรึกษากันว่าจะไปแหล่งเรียนรู้ที่ไหนแล้วได้ตกลงว่าจะไปโรงเรียนสืบสารล้านนา และได้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะว่าโรงเรียนนั้นไม่มีการสาธิตให้ดูแล้ว
3. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่
4. ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งหมดแล้วเลือกห้องที่กลุ่มสนใจเพื่อที่จะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
5. สมาชิกในกลุ่มได้มีการตัดสินใจเลือกห้อง สิ่งดีงามในเชียงใหม่
6. ได้ทำเส้นทางจากสนามบินไปพิพิธภัณฑ์หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่
7. ทำ mind map การทำโครงงาน
8. นำเสนอคุณครู
9. ติดต่อครูที่ปรึกษาร่วม
10. เริ่มลงมือทำโครงงานด้วยกระบวนการกลุ่ม
11. นำเสนอโครงงานและสาธิตการตัดตุง
12. สรุปผลการทำโครงงาน  


แหล่งเรียนรู้
สถานที่   
- หอศิลป์วัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
- วันเด่นสะหลีศรีเมืองแกน ต.อินทขิล อ.แม่แตง    จ.เชียงใหม่
- วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศพายัพ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่
- บ้านม่วงชุม ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
  (บ้านของ คุณผ่องพรรณ์ ชมเพ็รช )
 http:ll bailan01. Blogspot.com

วัสดุ/อุปกรณ์

กระดาษ 2 สี
กรรไกร

งบประมาณ

๑๐๐ บาท

ระยะเวลาการดำเนินโครงงาน

วันที่ 28 ตุลาคม 2556 ถึง วันที่ 28 มกราคม 2557




กิตติกรรมประกาศ

               คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์ ที่ได้ทำการช่วยเหลือในเรื่องของการเรียบเรียงภาษาฝรั่งเศส 
คุณครูจรัล เข็มขาว ที่ได้ช่วยเหลือในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพจิตกรรมฝาผนัง
 คุณครูวรรณภา อินตารัตน์ ที่ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับตุงล้านนา คุณอภิรักษ์ ตาเสน ที่เล่าประวัติความเป็นมาและอารยธรรมของล้านนาที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และ ขอขอบพระคุณคุณผ่องพรรณ ชมเพ็ชร ที่ได้สอนการตัดตุงไส้หมูด้วยความเมตตาและตั้งใจจริง

          สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกแหล่งข้อมูลและทุกแหล่งการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมในการทำโครงงานในครั้งนี้

                                       คณะผู้จัดทำโครงงาน


                   
                     คุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์




                        คุณครูจรัล เข็มขาว



                            คุณครูวรรณภา อินตารัตน์



              คุณคุณผ่องพรรณ ชมเพ็ชร

                         หลักการและเหตุผล
         
           วิถีชีวิตของชาวล้านนาในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เทคโนโลยีสมันใหม่ได้เข้ามาในชีวิตของชาวบ้านเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อสังคมตลอดจนภูมิปัญญาของชาวล้านนาเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ตุง ที่ชาวล้านนาสมัยก่อนจะทำเป็นกันเกือบทุกคน ส่วนใหญ่สมัยนี้ ตุงผลิตจากโรงงาน ส่วนน้อยมากที่ผู้คนจะหันมาตัดตุงทำเองทำให้คุณค่าทางจิตใจลดน้อยลงทำให้ขาดลักษณะและเอกลักษณ์ของตุงนั้นและสะดวกสบายต่อการทำ
          ตุงล้านนาถือว่ามีมาตั้งแต่หลายสมัยแล้ว ซึ่งตุงจะเป็นลักษณะเด่นของล้านนา เพราะตุงในล้านนานั้น มีความเชื่อหลากหลายในการนำตุงไปวัด เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อนที่จะใช้ในงานพิธีการทางพุทธศาสนา  ทั้งในงานมงคลและอวมงคลต่างๆ ขนาดและรูปแบบของการทำตุงก็จะแตกต่างกันไป กลุ่มผู้จัดทำโครงงานนี้จึงอยากจะนำโครงงานนี้มาเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องของ ตุงล้านนาและผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร

จุดประสงค์
๑) เพื่อใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร
๒) เพื่อให้สมาชิกทุกคนทำงานเป็นกระบวนการกลุ่ม
๓) เพื่อใช้เทคโนโลยีในการนำเสนองาน
๔) เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
        ๑) มีความรู้ความเข้าใจการใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการ                     สื่อสารเพิ่มขึ้น
๒) สมาชิกในกลุ่มได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้   blog       และการใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารโดยการนำเสนอ  โครงงาน
๓) สามารถนำความรู้เรื่องสิ่งดีงามของเชียงใหม่ไปเผย  แพร่ให้แก่ผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสหรือผู้ที่สนใจเรื่องสิ่งดี งามของเชียงใหม่ไปเผยแพร่ได้โดยใช้ blog 
      ๔) ได้อนุรักษ์   สืบทอด  ภูมิปัญญาพื้นบ้าน และได้รู้เรื่อง           ราวของตุงล้านนามากยิ่งขึ้น

เป้าหมายในการทำโครงงาน
๑) เพื่อให้ความรู้ผู้ที่สนใจในด้านวัฒนธรรม , จิตรกรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน
๒) เพื่อใช้ภาษาฝรั่งเศสในการนำเสนอให้แก่คนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส
๓) เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม,ตุงล้านนาให้แก่ผู้คนที่สนใจและรักษาไว้ในรุ่นต่อๆไป
๔) เพื่อส่งเสริมให้คนปัจจุบันสืบสานประเพณีนี้ต่อไปเรื่อยๆ


แผนที่


Si vous êtes à l’aéroport International de Chiang  Mai, tournez à droite jusqu’à    l’université de Far Eastern, encore à gauche et continuez la rue Mahidol.

 Tournez  à  droite et vous tombez dans la rue Arak. Puis, passez par le jardin public Nong Buak Hard. Tournez à gauche, prenez la rue  Samlarn et passez devant le temple Phra Singh Woramahaviharn,vous voyez le carrefour, tournez à droite, il y a deux croissements. C’est le musée Art & Culture Chiang  Mai sur à votre droite.     

            ถ้าคุณอยู่ที่สนามบินเชียงใหม่  เลี้ยวขาวจนกระทั้งถึงมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเลี้ยวซ้ายและตรงไปบนถนนมหิดลแล้วเลี้ยวขวาคุณจะอยู่บนถนนอารักษ์จากนั้นผ่านสวนสาธารณะบวกหาดเลี้ยวซ้ายที่ถนนสามล้านและผ่านวัดพระสิงห์วรมหาวิหารคุณจะเห็นสี่แยกแล้วเลี้ยวขวาจะมีสองทางแยก พิพิธภัณฑ์หอศิลปวัฒนธรรม เชียงใหม่อยู่ทางขวามือของคุณ  


      

ประวัติวัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน


เดิมชื่อ "วัดศรีบุญเรืองเป็นวัดที่สร้างตามแบบศิลปล้านนาประยุกต์ ตั้งเด่นบนเนินเตี้ยๆ เห็นได้แต่ไกล ภายใต้เนินนั้นเป็นถ้ำศักสิทธิ์ ที่ชาวบ้านนับถือจึงเรียกกันว่า "วัดบ้านเด่น" เป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามตระการตาด้วยศิลปสถาปัตยกรรมไทยล้านนา ภายใต้แนวคิดที่ว่าให้เป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจมากกว่าการประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา จึงเป็นธรรมกุศโลบาย ในการสร้างวัดให้งดงาม เพื่อดึงดูดผู้คนให้เข้าวัด ชมความสวยงามที่แฝงไว้ด้วยคติธรรม เป็นการชักนำชาวโลกยุคนี้ให้ใกล้ชิดศาสนา แลซึมซับในคำสอนขององค์พุทธศาสดา พร้อมๆไปกับการเที่ยวชมพุทธสถานแห่งนี้
อาณาเขตบริเวณที่กว้างขวาง ไป ไหว้พระในวิหารพระเจ้าพันองค์ ตรงประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก มีรูปปั้นสัตว์ป่า หิมพานต์ สองตัว ...ที่ไม่คุ้นตา ไม่เคยเห็นมาก่อน เฝ้าประตูอยู่สองฝั่งซ้ายขวา...ถัดไปเป็นมณฑปพระ เศรษฐีนวโกฏิ เป็นพระพุทธรูปที่โหรชื่อดังได้สร้างขึ้นถวายวัดทุกภาคในประเทศไทย ทางด้านหลัง เป็นพระมหาเจดีย์นักษัตร 12 ราศี 
(อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 15/7/2556)

 ในวิหารมาต๋ามหน้า บุญ ด้ายซ้ายมือของเรามีรูปเหมือนของพระเกจิอาจารย์หลายรูป ดูหมือนมีชีวิตจริงๆ ประหนึ่งว่าท่านจะคุยกับเรา...แค่เห็นก็ศรัทธาแล้ว..ภายในยังมี อุโบสถ หอไตร หอกลอง วิหารเสาอินทขิล กุฏิไม้สักทองทรงล้านนา พระวิหาร พระสถูปเจดีย์ ให้ชมอีกมาก
  ศาสนาสถานและศาสนาสมบัติทั้งหมด ภายในวัดก่อสร้างได้โดยครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล (พระครูไพศาลพัฒนโกวิท) วัดหัวคง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับนิมนต์จาก ครูบาไชยา วัดป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานในการก่อสร้าง ตั้งแต่ริเริ่มจนถึงปัจจุบัน
ประเพณีปอยหลวงหรือครัวทาน
ประเพณีปอย คืองานฉลองหรืองานรื่นเริง งานเทศกาลที่จัดขึ้น ผู้เขียนเคยสนทนากับชาวพม่าท่านหนึ่ง บอกว่า ปอยมาจากคำว่า ปเวณิ์ หรือ ปเวณี แต่พม่าออกเสียงเร็ว ฟังเป็นเสียงปอย ไป คำว่า ปอยนี้ เพิ่งปรากฎในเอกสารล้านนาไทยระยะ 300 ปีมานี้เอง เป็นระยะเวลาที่ชาวพม่าเข้ามาปกครองล้านนาไทย แต่เอกสารสมัยอาณาจักรล้านนาไทยไม่ปรากฎคำว่าปอยเลย แสดงว่าคำนี้ ล้านนาไทยได้มาจากคำว่า ปเวณ์ ของพม่า นำมาใช้โดยออกเสียงเป็นปอย
งานที่มีชื่อว่า ปอยนั้นมีด้วยกัน 4 ปอย คือ 

1.                           ปอยหลวง งานฉลอง
2.                           ปอยน้อย งานบวชอุปสมบท
3.                           ปอยข้าวสงฆ์ งานทำบุญอุทิศหาผู้ตาย
4.                           ปอยล้อ งานศพพระสงฆ์หรือเจ้าเมือง

ประเพณีปอยหลวงของล้านนาไทย
ปอยหลวง คือ งานฉลองถาวรวัตถุของวัดหรือการฉลองสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนช่วยกันทำขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ แก่สาธารณชน มีโรงเรียน หอประชุม เป็นต้น ประชาชนในล้านนาไทย นิยมทำการฉลองครั้งใหญ่หลังจากการก่อสร้างสำเร็จแล้ว ทำเป็นการใหญ่โต เรียกว่า ปอยหลวง อุทิศสิ่งก่อสร้างเป็นของสงฆ์ และอุทิศบุญกุศลแก่บรรพชนด้วย ถ้าทำส่วนตัวเรียกอุทิศกุศลไว้ภายหน้า หากอุทิศแก่คนตายเรียกว่า อุทิศะกุศลไปหา งานปอยหลวงเป็นงานใหญ่ จะต้องมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ซึ่งเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดคณะศรัทธา จะต้องจัดเตรียมการต้อนรับเลี้ยงดูหัววัดต่าง ๆ ที่จะมาร่วมทำบุญด้วย ซึ่งทางวัดจะได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการเป็นแผนก ๆ ไป และต้องพิมพ์ใบฎีกาแผ่กุศลส่งไปตามหัววัดและคณะศรัทธา แจ้งกำหนดการ และวันทำบุญให้ทราบ ทางวัดที่จัดงานจะเตรียมต้อนรับ และเลี้ยงดูโดยพวกศรัทธาจะช่วยกันบริจาคเครื่องบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหาร ไว้คอยเลี้ยงดูตามสมควรแก่ฐานะ

·                 ช่วงเวลา
ประเพณีปอยหลวง มักจะจัดขึ้นตั้งแต่เดือน ๕-๘ เหนือ (เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม) งานนี้จะจัดขึ้นประมาณ ๓-๗ วัน แล้วแต่ฐานะของวัดนั้นๆ
·                 ความสำคัญ
ประเพณีปอยหลวง คือ งานฉลองถาวรวัตถุ หรือสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อถวายวัดและเพื่อประโยชน์ แก่สาธารณะชน เช่น วิหาร ศาลา โรงเรียน หอประชุม เป็นต้น นิยมทำการฉลองครั้งใหญ่หลังจากการก่อสร้างสำเร็จแล้ว ทำเป็นงานใหญ่โตเรียกว่า ปอยหลวง อุทิศสิ่งก่อสร้างเป็นของสงฆ์ และอุทิศบุญกุศลแก่บรรพชนด้วย ถ้าทำส่วนตัวเรียกว่า อุทิศกุศลไว้ภายหน้า หากอุทิศแก่คนตายไปแล้ว เรียกว่าอุทิศไปหาผู้ที่ถึงแก่กรรม
·                 พิธีกรรม
ก่อนวันงาน ๑ วัน จะมีการเตรียมของเรียกว่า วันดา (วันสุกดิบ) วันนี้คณะศรัทธาจะนำของมารวมกันเรียกว่า ฮอมครัว และในวันแรกของงานปอยหลวง จะมีการทานธงแบบต่างๆ ซึ่งเมืองเหนือเรียกว่า ตุง ช่อธงยาวและช่อช้าง จะนำตุงไปปักไว้บนเสาไม้ไผ่หรือไม้ซาง ตลอดแนวสองข้างทางเข้าวัด ตุงจะทำด้วยผ้าแพรหรือผ้าฝ้ายสีต่างๆอย่างสวยงาม ในงานปอยหลวงจะมีการแห่แหนเครื่องไทยทานจากหัววัดต่างๆ ไปร่วมทำบุญด้วยเรียกว่า แห่ครัวทาน ขบวนแห่ครัวทานจะมีช่างฟ้อนสาวรูปร่างสวยงาม แต่งกายแบบพื้นเมือง ฟ้อนนำหน้าครัวทานเข้าวัดด้วย วันสุดท้ายของงานปอยหลวง คณะศรัทธาจะแห่ครัวทาน หรือพุ่มเงินบ้านละต้นหรือหลายบ้านรวมเป็นหนึ่งต้น ครัวทานนี้จะมีการแห่กันตอนเย็น มีขบวนแห่อย่างสนุกสนาน กลางคืนจะมี
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการสวดสมโภชหรือสวดเบิก และมีการสวดถึงอานิสงส์ของการก่อสร้าง วันรุ่งขึ้นมีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และกล่าวโอกาสเวนทานสิ่งปลูกสร้างขึ้น เสร็จแล้วถวายไทยทานพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธี พระให้ศีลให้พรเป็นเสร็จพิธี
·                 สาระ
เป็นการแสดงความยินดีที่ทุกคนในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างถาวรวัตถุที่เป็น ประโยชน์แก่วัดและสาธารณะ รวมทั้งอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงพระคุณของท่านเหล่านั้น




ความเป็นมาของกฐินภิกษุ ชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝน ยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถ รับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) 
กฐิน มีความหมาย ๔ ประการ

(๑) กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้
กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซื่งอาจเรียกว่า สะดึง ก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มี
รูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือ ผ้าห่ม หรือผ้าห่มช้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่งว่าสบง ผ้าห่มว่า จีวร ผ้าห่มช้อนว่า สังฆาฏิ การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบ และ ตัดเย็บ
ย้อมทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้น
เมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้น ก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นอีกในปีต่อๆ ไป
การรื้อแบบไว้ เรียกว่า เดาะ ฉะนั้นคำว่า กฐินเดาะ หรือเดาะกฐินจึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเก็บไว้ใช้

(๒) กฐินที่เป็นชื่อของผ้า
หมายถึงผ้าที่ถวายใช้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล ๑ เดือน นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๑๒ ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ , ภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์ แล้ว ก็เป็นอันใช้ได้

(๓) กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา
คือการทำบุญคือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวันหนึ่งครบ ๓ เดือน เพื่อสงเคราะห์
ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ให้มีผ้านุ่ง หรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่า ที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวาย
ผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้ว กล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็นกาลทาน
คือการถวายทานที่ทำได้เฉพาะกาล ๑ เดือน ดังกล่าวในกฐินที่เป็นชื่อของผ้า ถ้าถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้น
ไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือว่าหาโอกาสทำได้ยาก
(๔) กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม
คือ กิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐิน ให้แก่ภิกษุ
รูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุ
รูปอื่นขยายเวลาทำจีวรได้อีก ๔ เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาต
ให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน ๑. วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้า และเก็บผ้าไว้ทำเป็น
จีวรได้ จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔
ข้อความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าความหมายของคำว่ากฐิน มีความเกี่ยวข้องกันทั้ง ๔ ประการ
 เมื่อสงฆ์ทำ สังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐิน คือแสดงความพอไจว่าได้กรานกฐินเสร็จแล้ว ก็เป็นอันเสร็จพิธี
กฐิน ในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้นการใช้ไม้แม่แบบ อย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงถวายผ้าขาวให้ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น หรือนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่า "ถวายผ้ากฐิน"
เช่นกัน

ประเภทของกฐิน
การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเราได้แบ่งกฐินออกเป็น ๒ ประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์
กฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่ทำพิธีทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา ณ พระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑) กฐินเสด็จพระราชดำเนิน เป็นกฐินหลวงที่พระแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานถวายด้วยพระองค์เอง
หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปทอดถวายแทน
๒) กฐินต้น เป็นกฐินส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระราชทานแก่วัดใด วัดหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ได้
๓) กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงที่โปรดพระราชทานให้แก่หน่วยงานข้าราชการ คฤหบดี พ่อค้า และประชาชน 
ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานผ้ากฐินนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง แห่งใดแห่งหนึ่ง
กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจัดนำไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ทั่วไป กฐินราษฎร์นี้นิยมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) มหากฐิน เป็นกฐินที่นิยมจัดเครื่องบริวารกฐินต่างๆ มากมาย
๒) จุลกฐิน เป็นกฐินน้อยหรือกฐินรีบด่วนเพราะมีเวลาจัดเตรียมการน้อย
มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก
วิธีทำนั้น คือเก็บฝ้ายมากรอเป็นด้าย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น
กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว
"วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวง
ทำในวันกลางเดือน ๑๒ คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน ๑๒ อันเป็นที่สุด
ของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด
มูลเหตุของจุลกฐิน คงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็น
ประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่"

ธงจระเข้


ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฏหลักฐาน และข้อวิจารณ์อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี ๒ มติ คือ
๑. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง
จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่ง อยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมา ก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัง คงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่า ทอดกฐินแล้ว
๒. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญ จึงอุตส่าห์ ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วม การกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้


พระบรมธาตุดอยสุเทพ



ชื่อภาพ   พระบรมธาตุดอยสุเทพ
สถานที่     พระบรมธาตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร
พระบรมธาตุดอยสุเทพเปรียบประดุจเพชรน้ำเอกของเมือง   เป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่สถาปนามาตั้งแต่สมัยพญากือนา เมื่อ  พ..  2472  ชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิด



อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
ดอยปุย ยอดเขาที่สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 24 ของประเทศ มีลักษณะของพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในแนวเทือกเขาถนนธงไชย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่บางส่วนของอำเภอรอบ ๆ สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่จะหนาวเย็นและชุ่มชื้น เนื่องจากได้รับไอน้ำจากเมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในพื้นที่อยู่ระหว่าง 10-12 องศาเซลเซียส
สถานที่ท่องเที่ยว ดอยปุย ได้แก่
1.            ยอดดอยปุย สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี
2.            พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงในด้านความสวยงาม
3.            หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย บริเวณหมู่บ้านจำหน่ายของที่ระลึกจำนวนมากซึ่งมีทั้งที่ผลิตภายในหมู่บ้าน และนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยว มีพิพิธภัณฑ์ม้ง สวนดอกไม้ซึ่งมีบริการถ่ายรูปแต่งชุดชาวเขา บริเวณรอบ ๆ
4.            . สถานีวิจัยดอยปุย หรือเรียกว่า สวนสองแสน ตั้งอยู่ที่ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ปีมะแม



              

พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
ณ ดินแดน ที่เป็นเสมือนทิพย์วิมาน ในเทพนิยายหรือ
สวรรค์บนพื้นแห่งพิภพยามเช้าในฤดูหนาว กลุ่มสายหมอก จะลอยพาดผ่านยอดดอยแห่งพระตำหนักฯ หมู่มวลดอกไม้นานาพันธุ์
จะคลี่กลีบดอกงามรับสายหมอกและท่ามกลางแสงแห่งตะวันดอกกุหลาบหลากสีต่างเบ่งบาน กลีบอันสดใส ดูแล้วงดงามซึ่งยากยิ่งในอันที่จะพบได้จากที่แห่งใด ในผืนแผ่นดินไทย นอกจาก ณพระตำหนักแห่งนี้พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
คำอธิบาย: http://www.bhubingpalace.org/images/blank.gifพระราชนิเวศน์แห่งนี้ ตั้งอยู่บนดอยบวกห้าตำบลสุเทพ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๓๗๓.๑๙๗ เมตรในเนื้อที่โดยรอบพระตำหนักประมาณ ๔๐๐ ไร่ นั้น แบ่งเป็นบริเวณที่เปิดให้นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชมประมาณ ๒๐๐ ไร่ คำว่าดอยบวกห้าเป็นชื่อเรียก ตาม
คำพื้นเมือง ดอยหมายถึงภูเขา บวกหมายถึง หนองน้ำห้าหมายถึงต้นหว้า หมายความว่า ที่ยอดดอยแห่งนี้มีหนองน้ำอุดมไปด้วยต้นหว้าขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณหนองน้ำนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๐๔และพระราชทานนามพระตำหนักองค์นี้ว่า
ภูพิงคราชนิเวศน์โดยทรงเลือกจากหนึ่งใน ๒ ชื่อซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อครั้งเป็นที่ พระศาสนโสภณ เป็นผู้คิดชื่อถวาย คือ
พิงคัมพรกับภูพิงคราชนิเวศน์พระตำหนักแห่งนี้ใช้เป็นที่ประทับในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทรงงาน และเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือรวมทั้งเพื่อรับรองพระราชอาคันตุกะที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในโอกาสต่างๆการที่ทรงเลือกสร้างที่จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีอากาศเย็นสบายภูมิประเทศสวยงาม อีกทั้งเคยเป็น
เมืองหลวงมาก่อนผู้คนพลเมืองยังดำรงรักษาจารีตขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามไว้
*   พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ มีลักษณะเป็นแผนผังแบบเรือนไทยภาคกลางที่เรียกว่าเรือนหมู่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นไทยประเพณีประยุกต์ ก่ออิฐถือปูนยกพื้นสูงหลังคาทรงไทย ภายในประกอบไปด้วยท้องพระโรง ห้องเสวย ห้องบรรทมและห้องสรงสำหรับพระราชอาคันตุกะ ตั้งอยู่
คนละด้าน มีเฉลียงใหญ่และพลับพลาหอนกเป็นที่ประทับทอดพระเนตรทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่ชั้นบนเป็นที่ประทับ ชั้นล่างเป็นที่อยู่ของมหาดเล็ก และคุณข้าหลวงออกแบบแปลนโดยหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร สถาปนิกพิเศษ กรมศิลปากรออกแบบรูปด้าน โดยหม่อมราชวงศ์ มิตรารุณ
เกษมศรี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีหม่อมเจ้า สมัยเฉลิม กฤดากรเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี และนายประดิษฐ์ยุวพุกกะจากกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรเป็นผู้ช่วย และได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯให้พลเอกหลวงกัมปนาท แสนยากร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการวางศิลาฤกษ์
พระตำหนักเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ เวลา ๑๐นาฬิกา ๔๙ นาที





ชื่อภาพ    การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  อ. แม่ริม
สถานที่  อ.แม่ริม
 การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ขึ้นชื่อของเชียงใหม่เดิมชาวเชียงใหม่ใช้ช้างเพื่อเป็นพาหนะออกศึกและชักลากซุงต่อมาได้ปรับมาใช้เพื่อการท่องเที่ยว  ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก


ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยา ณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อตั้งเมื่อปี พศ. 2536 มีช้างในความดูแลมากกว่า 50 เชือก ตั้งอยู่ระหว่าง กม.28-29 ถนน ลำปาง-เชียงใหม่ อำเภอ ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม ยังเป็นผู้บุกเบิกงานด้านการอนุรักษ์ช้างและการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ และนับเป็นความภาคภูมิใจของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่ได้รับความไว้วางใจให้ เป็นสถานที่ดูแลช้างต้นหรือช้างสำคัญของพระมหากษัตริย์ถึง 6 ช้างในพื้นที่ของโรงช้างต้น
เนื่องจากศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเป็นปางช้างแห่งเดียวในประเทศไทยที่ เป็นของรัฐบาล การเดินทางมาเยี่ยมช้างจึงเป็นสิ่งที่ง่าย และ มีค่าใช้จ่ายไม่มาก โดยมีค่าบัตรผ่านประตูเพียง 100 บาทสำหรับผู้ใหญ่คนไทย และ 50 บาทสำหรับเด็ก เป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับครอบครัวหรือนักเรียน
ซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายโดยแบ่งออกเป็น แบบที่หนึ่ง เที่ยวในหนึ่งวัน ได้แก่ การแสดงช้างช้างอาบน้ำ การแสดงช้าง เยี่ยมชมลูกช้าง และบริการนั่งช้างชมธรรมชาติ แบบที่สองเที่ยวแบบค้างคืน ได้แก่ โปรแกรมฝึกเป็นควาญช้างสมัครเล่นและโปรแกรมเดินป่า
ด้านการอนุรักษ์ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้ก่อตั้งโรงพยาบาลช้างและโครงการสัตวแพทย์สัญจรซึ่ง ถือว่า เป็นแห่งแรกของประเทศไทยโดยทำการรักษาช้างเอกชนทุกเชือกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ใดๆ
นอกจากนั้นศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยยังได้ทำการวิจัยเรื่องของการขยาย พันธุ์ช้างและการผสมเทียมช้าง รวมถึงการศึกษาวิจัยการทำงานของระบบกล้ามเนื้อของช้าง
บุกเบิกงานด้านศิลปะ
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยถือว่าเป็นผู้บุกเบิกงานทางด้านศิลปะของช้าง ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการฝึกช้างให้วาดภาพ เป็นแห่งแรก และยังเป็นสถานที่ก่อตั้งวงดนตรีช้างแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยภายใต้การดำเนินงานโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทย และยังเป็นศูนย์รวมความรู้เรื่องช้างและผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับช้างโดยได้ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆของรัฐและเอกชน ในการช่วยเหลือช้างของประเทศมากกว่า 2,700 เชือก




ปางช้างแม่ตะมาน
ช้างไทย เคยเป็นสัญลักษณ์บนผืนธงสีแดงของชาติไทยก่อนหน้าผืนธงไตรรงค์ในปัจจุบันนี้ ช้างเป็นสัตว์มีความความผูกพันกับชาวไทยมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ คนกับช้าง และช้างกับควาญ จึงอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดตลอดมา เด็กไทยทุกคนรู้จักเพลง ช้าง  เป็นอย่างดี

ปางช้างแม่ตะมานตั้งอยู่ที่อำเภอแม่แตง บนพื้นที่กว่า 25 ไร่ โอบล้อมด้วยธรรมชาติของทิวเขา สายน้ำ และวัฒนธรรมชาวท้องถิ่นชนบท ระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่ปางช้างเปิดให้บริการกับนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชมและทำกิจกรรมร่วม กับช้างไทยใจดี ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากช้าง 10 เชือก บัดนี้ปางช้างแม่ตะมานมีช้างทั้งหมด 60 เชือก เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาชมการแสดง ช้าง นั่งช้าง และสัมผัสวิถีชีวิตของชาวไทยภูเขาเผาลีซอ ล่องแพไม้ไผ่ในลำน้ำแม่แตง และเดินป่าระยะสั้น

การแสดงช้าง
ปาง ช้างแม่ตะมานเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 - 15.00 น. มีกิจกรรมหลากหลายไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว เปิดให้บริการทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่   (053) 297060, 297283 โทรสาร (053) 297283
- เปิดการแสดงด้วยขบวนช้างนักแสดง ถือป้าย, ยินดีต้อนรับ, และทำท่าสวัสดี แสดงความเคารพผู้ชม
- แสดง ความคุ้นเคยและการสื่อสารระหว่างควาญช้างกับช้าง โดยให้ช้างปฏิบัติตามคำสั่งของควาญ เช่น ให้ช้างนั่ง นอน หรือย่อตัวเพื่อให้ควาญช้างขึ้นลง
- ช้างแสดงการเล่นอุปกรณ์เครื่องดนตรีและการเต้นเข้าจังหวะ
- ช้างออกกำลังกาย โดยการโยนลูกบอลเข้าห่วง และการแตะลูกฟุตบอลเข้าตาข่าย
- ช้างแสดงความแสนรู้ ด้วยการเดินสองขาและใช้ง่วงใส่หมวก ให้ควาญ เก็บของโยนลงตะกร้า การนวดให้คนด้วย การแตะเท้าและง่วงอย่างเบาๆ
- แสดงวิธีการทำงาน ด้วยการเก็บโซ่พันคอช้างด้วยตัวช้างเอง และการชักลากซุงแล้วนำไปเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ
- ช้างแสดงความสามารถพิเศษ ด้วยการวาดรูป ที่ค่อยๆ บรรจงตวัดพู่กันลงบนกระดาษมูลช้าง จนออกมาเป็น รูปต้นไม้ที่มีดอกไม้บาน
- ปิดการแสดงด้วยขบวนช้างนักแสดง ถือป้ายแสดงคำว่า, ขอบคุณ, และหลังจากนั้น ก็เปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้าไป ใกล้ชิดกับช้างได้
และที่ปางช้างแม่ตะมานยังมีบริการให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับ การขี่วัว  ล่องแพไม้ไผ่  เดินป่า  เยี่ยมชมหมู่บ้านชาวเขา  ล่องแพยาง  และการฝึกเป็นควาญช้าง
                      แผนที่ปางช้างแม่ตะมาน


ชื่อภาพ   ความอุดมสมบูรณ์ของเชียงใหม่
สถานที่   อ. ดอยสะเก็ด
เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานผู้คนจะนิยมรวมตัวกันตั้งหมู่บ้านบริเวณที่ลุ่ม  มีการทำกสิกรรมปลูกข้าวในพื้นที่โดยรอบ



ชื่อภาพ  เจดีย์วัดปู่เปิ้ย
สถานที่   เวียงกุมกาม  อ. สารภี
เจดีย์วัดปู่เปิ้ย   เป็นลักษณะเจดีย์ทรงปราสาทแบบเชียงใหม่ การประดับตกแต่งซุ้มด้วยปูนปั้นน้ามัน
สะตายจีน”  แบบโบราณของล้านนา  วัดปู่เปิ้ยเป็นหนึ่ง   ในวัดโบราณสถานของเวียงกุมกามซึ่งเป็นเมืองโบราณ     สร้างก่อนเชียงใหม่   หากแต่ล่มสลายด้วยการเปลี่ยนทิศทางของแม่น้ำปิง

ภาพจิตกรรมฝาผนัง




ชื่อภาพ   พระพุทธสิหิงค์
สถานที่   วิหารลายคำ   วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ที่มีพุทธลักษณะงดงาม ทุกปีในวันสงกรานต์จะมีการอันเชิญประดิษฐานบนราชรถเพื่อให้ประชาชนชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวมาสรงน้าสักการะ

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำวัดพระสิงห์เขียนขึ้นในราวสมัยรัชกาลที่ 5
โดยฝีมือของ เจ็กเส็ง เป็นจิตรกรรมที่มีความสวยงาม มีอิทธิพลศิลปะจากกรุงเทพฯ
ผสมผสานกับแบบประเพณีท้องถิ่นล้านนาที่ยังปะปนกับอิทธิพลศิลปะตะวันตกด้วย
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังของวัดพระสิงห์เป็นภาพเขียนเรื่องสังข์ทอง
หรือสุวัณณสังขชาดก ซึ่งเป็น 1 ใน 50 เรื่องของปัญญาสชาดกหรือชาดกนอกนิบาต
เป็นงานวรรณกรรมที่แต่งเลียนแบบชาดกโดยพระเถระชาวเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2000-2200
นอกจากสุวัณณสังขชาดกแล้วยังมีเรื่องสมุทรโฆษชาดก สุธนชาดก รถเสนชาดก เป็นต้น
การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำวัดพระสิงห์ช่างเขียนสามารถกำหนดจินตนาการได้ตามอย่างที่ต้องการเป็นการจำลองวิถีชีวิตของคนล้านนาในสมัยก่อน
ซึ่งสังเกตจากรอยสักบริเวณต้นขาของรูปคนในภาพรวมทั้งการแต่งกายของผู้ชายที่นุ่งแต่ผ้าเตี่ยวมีผ้าสะพายพาดบ่าซึ่งเป็นลักษณะของคนล้านนา
ลักษณะเด่นของภาพจิตรกรรมที่พบในล้านนา อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สรุปไว้ว่า
จิตรกรรมในภาคเหนือนิยมเขียนภาพชีวิตประจำวัน เป็นภาพเหมือนชีวิตจริง ถ้าเรามองดูภาพที่งดงามเรื่องสังข์ทองในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เราจะรู้สึกคล้ายกับว่า เราเข้าไปอยู่ในสภาพการณ์ที่เป็นจริงตามความเป็นอยู่เมื่อ 100 ปีก่อน "
ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในวิหารลายคำของวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ถือเป็นงานฝีมือของช่างชั้นครูที่ปัจจุบันยังคงได้รับการอนุรักษ์ แม้ว่าตัววิหารลายคำจะผ่านการบูรณะซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง แต่ภาพเขียนฝาผนังยังคงได้รับการบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดี


            


เรื่องย่อ สังข์ทอง ตอน รจนาเลือกคู่
ท้าวยศวิมลมีมเหสีชื่อนางจันท์เทวีมีสนมเอกชื่อนางจันทาเทวีไม่มีโอรสธิดา จึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็นหอยสังข์นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวีจึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง
นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปีพระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย
ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกดและได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหารท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำแต่ท้าวภุชงค์(พญานาค)ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์
วันหนึ่ง นางพันธุรัตได้ไปหาอาหาร พระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวังและได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง(รองเท้าทองนั้นเอง) ไม้พลองและพระสังข์ก็รู้ความจริงว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์เมื่อพระสังข์พบเข้ากับโครงกระดูกจึงได้เตรียมแผนการหนีด้วยการสวมกระโดดลงไปชุบตัวในบ่อทอง สวมรูปเงาะกับเกือกทอง และขโมยไม้พลองเหาะหนีไป
เมื่อนางพันธุรัตทราบว่าพระสังข์หนีไปก็ออกตามหาจนพบพระสังข์อยู่บนเขาลูกหนึ่ง จึงขอร้องให้พระสังข์ลงมาแต่พระสังข์ก็ไม่ยอมนางพันธุรัตจึงเขียนมหาจินดามนตร์ที่ใช้เรียกเนื้อเรียกปลาได้ไว้ที่ก้อนหินก่อนที่นางจะอกแตกตาย ซึ่งพระสังข์ได้ลงมาท่องมหาจินดามนตร์จนจำได้และได้สวมรูปเงาะออกเดินทางต่อไป
พระสังข์เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าวสามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะ พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อรจนามีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่งท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด ซึ่งธิดาทั้ง 6 ต่างเสี่ยงมาลัยได้คู่ครองทั้งสิ้นเว้นแต่นางรจนาที่มิได้เลือกเจ้าชายองค์ใดเป็นคู่ครองท้าวสามลจึงได้ให้ทหารไปนำตัวพระสังข์ในร่างเจ้าเงาะซึ่งเป็นชายเพียงคนเดียวที่เหลือในเมืองสามล ซึ่งนางรจนาเห็นรูปทองภายในของเจ้าเงาะจึงได้เสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมากเนรเทศนางรจนาไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์อาสน์ที่ประทับของพระอินทร์เกิดแข็งกระด้างอันเป็นสัญญาณว่ามีผู้มีบุญกำลังเดือดร้อนจึงส่องทิพยเนตรลงไปพบเหตุการณ์ในเมืองสามลจึงได้แปลงกายเป็นกษัตริย์เมืองยกทัพไปล้อมเมืองสามลท้าให้ท้าวสามลออกมาแข่งตีคลีกับพระองค์ หากท้าวสามลแพ้พระองค์จะยึดเมืองสามลเสีย
ท้าวสามลส่งหกเขยไปแข่งตีคลีกับพระอินทร์ แต่ก็แพ้ไม่เป็นท่าจึงจำต้องเรียกเจ้าเงาะให้มาช่วยตีคลีซึ่งนางรจนาได้ขอร้องให้สามีช่วยถอดรูปเงาะมาช่วยตีคลีเจ้าเงาะถูกขอร้องจนใจอ่อนและยอมถอดรูปเงาะมาช่วยเมืองสามลตีคลีจนชนะในที่สุด
หลังจากเสร็จภารกิจที่เมืองสามลแล้ว พระอินทร์ได้ไปเข้าฝันท้าวยศวิมลและเปิดโปงความชั่วของพระนางจันทาเทวีพร้อมกับสั่งให้ท้าวยศวิมลไปรับพระนางจันท์เทวีกับพระสังข์มาอยู่ด้วยกันดังเดิม ท้าวยศวิมลจึงยกขบวนเสด็จไปรับพระนางจันท์เทวีกลับมาและพากันเดินทางไปยังเมืองสามลเมื่อตามหาพระสังข์
ท้าวยศวิมลและพระนางจันท์เทวีปลอมตัวเป็นสามัญชนเข้าไปอยู่ในวังโดยท้าวยศวิมลเข้าไปสมัครเป็นช่างสานกระบุง ตะกร้าส่วนพระนางจันท์เทวีเข้าไปสมัครเป็นแม่ครัว และในวันหนึ่งพระนางจันท์เทวีก็ปรุงแกงฟักถวายพระสังข์โดยพระนางจันท์เทวีได้แกะสลักชิ้นฟักเจ็ดชิ้นเป็นเรื่องราวของพระสังข์ตั้งแต่เยาว์วัย ทำให้พระสังข์รู้ว่าพระมารดาตามมาแล้วจึงมาที่ห้องครัวและได้พบกับพระมารดาที่พลัดพรากจากกันไปนานอีกครั้ง
หลังจากนั้น ท้าวยศวิมล พระนางจันท์เทวีพระสังข์กับนางรจนาได้เดินทางกลับเมืองยศวิมลท้าวยศวิมลได้สั่งประหารพระนางจันทาเทวีและสละราชสมบัติให้พระสังข์ได้ครองราชย์สืบต่อมา


                   
  
                 

เรื่องย่อ สุวรรณสังข์ชาดก
 “พระเจ้าพรหมทัตเป็นกษัตริย์ครองเมือง พรหมนครมีพระมเหสี ๒ องค์ช้ายและขวา มเหสีฝ่ายขวานามว่า จันทาเทวีส่วนฝ่ายซ้ายนามว่า จัมปากเทวีทั้งสามพระองค์ยังไม่มีบุตรหรือธิดาด้วยกันเลย จึงได้ทำการอ้อนวอนและทำบุญ ทำทาน และรักษาศีลเพื่อขอพรจากเบื้องบน
            จนเวลาผ่านไปหลายปี พระมเหสีจันทาฝันว่ามีพระอาทิตย์สุกสว่างลอยเวียนรอบเขาไกรลาศ ๓ รอบ แล้วตกลงที่ทรวงอกของพระนาง ส่วนพระนางจัมปากเทวีฝันว่าพระอินทร์เอาดอกจำปาทองมาให้พระนาง มเหสีทั้งสองจึงได้ไปเล่าความฝันให้พระสวามีฟัง พระเจ้าพรหมทัตจึงให้โหรมาทำนายฝัน โหรหลวงทำนายว่าพระมเหสีจันทาเทวีจะได้โอรสรูปงาม มีบุญญาธิการมากและจะได้ครองเมืองเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่สืบต่อจากพระองค์ ส่วนพระนางจัมปากเทวีจะได้ธิดาที่โสภายิ่งนัก
            พระเจ้าพรหมทัตดีพระทัยมากที่จะได้โอรสที่ดีสืบราชสมบัติในอนาคต จึงสั่งให้สร้างเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้รอพระโอรสที่จะสืบสันตติวงศ์ ทำให้พระเทวีจัมปากเทวีรู้สึกอิจฉาและเกรงว่าพระสวามีจะรักและหลงพระนางจันทาเทวีมากกว่าตน และอีกทั้งลูกของนางก็จะได้ครองราชย์ต่อจากพระบิดาซึ่งพระนางยอมไม่ได้ จึงได้หาอุบายและหาทางกำจัดสองแม่ลูกให้เป็นไป แต่จะกระทำการคนเดียวไม่สะดวกและอาจไม่สำเร็จ จึงไปชักชวน ปาลกเสนาบดีให้ช่วยคิดแผนการและหากทำสำเร็จพระนางจะให้รางวัลตอบแทนอย่างงาม
            ปาลกเสนาบดีจึงทูลใส่ร้ายพระมเหสีจันทาเทวีว่าพระองค์มีชู้ลักลอบมีสัมพันธ์กับชาวบ้านทั่วไปและลูกในท้องก็ไม่ใช่ลูกของพระองค์ และเมื่อมเหสีจัมปากเทวีเข้ามาสมทบก็พูดใส่ร้ายป้ายสีเช่นเดียวกัน พระเจ้าพรหมทัตไม่ได้พิจารณาใคร่ครวญและไตร่สวนใดๆ ด้วยความโกรธก็ได้ขับไล่พระมเหสีจันทาเทวีออกจากเมืองไป พระนางโศกเศร้าเสียใจและทุกข์ทรมานเดินออกจากวังเข้าป่าไปอย่างไร้จุดหมายซึ่งขณะนั้นพระนางตั้งครรภ์ได้หกเดือนแล้ว พอดีเจอตากับยายซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาใจดีมีเมตตาระหว่างทางจึงได้สอบถามพระนางถึงความเป็นมาเป็นไป แล้วจึงชวนพระเทวีมาอยู่ด้วยกัน นางจึงมาอยู่อาศัยและช่วยสองตายายทำงานทุกอย่างอย่างมีความกตัญญู ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในครรภ์ทรงเกรงว่าถ้าคลอดออกมาเป็นโอรสที่รูปงามจะทำให้แม่ลำบากในการเลี้ยงดูขึ้นอีกหลายเท่านัก เพราะขณะนี้ก็ลำบากมากแล้ว จึงตัดสินใจจะอยู่ในรูปที่ไม่ทำให้แม่ลำบากมากนัก
            เมื่อครบกำหนด ๑๐ เดือน พระเทวีก็คลอดลูกออกมาเป็น หอยสังข์พระนางและตายายก็ช่วยกันเก็บรักษาและให้อาหารเลี้ยงดูอย่างดีเหมือนเป็นลูกมนุษย์เช่นกัน พระนางก็นอนกอดและกล่อมลูกพร้อมพูดคุยกับหอยสังข์เหมือนว่าเป็นมนุษย์จริงๆ ครั้นนานวันไปเมื่อแม่และตายายออกไปทำงานในไร่ในนา พระสังข์ก็ออกมาจากหอยสังข์ช่วยทำงานบ้านและหุงหาอาหารไว้คอยแม่และตากับยายที่จะกลับมาในตอนเย็น เมื่อนางกลับมาเห็นก็แปลกใจแต่ไม่ได้คิดอะไร ครั้นวันที่สองก็ทำเหมือนเดิมอีก ทำให้นางแปลกใจมากและเห็นเด็กผู้ชายวิ่งๆอยู่ในบ้านแว๊บๆ แต่เมื่อมาถึงบ้านกลับไม่เห็นใคร วันที่สามนางจึงทำทีเป็นออกไปทำงานตามปกติแต่ไม่ไปไหนไกล แต่กลับแอบซุ่มดูอยู่ สักพักพระสังข์ทองพระโอรสน้อยรูปงามราวกะโอรสสวรรค์ ผู้มีผิวกายสุกเปล่งดั่งทองคำ ก็คลานออกมาจากหอยสังข์ ขณะกำลังจะไปปัดกวาดบ้านและทำงานบ้านช่วยแม่อยู่นั้น พระนางจันทาเทวีดีใจและตกตะลึงในความน่ารัก และความงดงามของโอรสน้อยยิ่งนัก พระนางรีบวิ่งเข้าไปอุ้มกอดจูบและร่ำไรรำพันต่างๆนาๆ อย่างมีความสุขอย่างไม่เคยมีมาก่อน และพระนางก็ใช้ฆ้อนที่เตรียมไว้ทุบหอยสังข์ให้แตก และบอกกับลูกว่าลูกจะได้ไม่หลบแม่เข้าไปอยู่ในหอยสังข์อีก สังข์ทองเสียใจที่แม่ทุบหอยสังข์นั้นเพราะเป็นของทิพย์วิเศษ และบอกว่าเมื่อลูกมีภัยจะได้มีที่หลบภัย แต่นางได้ปลอบลูกว่าแม่จะปกป้องและดูแลลูกอย่างดีที่สุดด้วยแม่เอง ครั้นตายายกลับมาจากไร่นาก็ดีใจและพร้อมใจกันตั้งชื่อให้ว่า สังข์ทองหรือ สุวรรณสังข์
            ข่าวคราวถึงความมีรูปงามและบุญญาธิการของสุวรรณสังข์โด่งดังขจรกระจายไปทั่วทุกสารทิศ จนถึงพระกรรณของพระราชาพรหมทัต จึงได้ทำการสอบถามจากปุโรหิตและทหาร จึงได้ทราบว่าเป็นโอรสของพระองค์กับพระมเหสีจันทาเทวี พระองค์โสมนัสยิ่งนักตรัสสั่งให้นำวอทองและขบวนช้างและม้าไปรับพระมเหสีและพระโอรสสุวรรณสังข์เข้ามาอยู่ในวังด้วยกัน พระองค์มอบตำแหน่งพระมเหสีฝ่ายขวาคืนให้พระนางเหมือนเดิมและมอบตำแหน่งรัชทายาทให้กับสุวรรณสังข์ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนขัดเคืองใจและอิจฉาริษยาให้กับมเหสีจัมปากเทวียิ่งนัก และเมื่อได้รู้ข่าวมาว่าพระโอรสเกิดมาจากหอยสังข์ก็ไปกราบทูลยุแหย่ใส่ร้ายป้ายสีสองแม่ลูกว่าเป็น กาลกิณีซึ่งปาลกเสนาบดีก็ยุแหย่กราบทูลเช่นเดียวกัน
            พระราชาได้ฟังดังนั้นก็โกรธมาก จึงมีรับสั่งให้นำสองแม่ลูกลงแพแล้วนำไปปล่อยในมหาสมุทร และเมื่อเจอลมฝนแพก็แตกทำให้สองแม่ลูกก็พลัดพรากจากกันไป พระนางจันทาเทวีได้ขอนไม้จึงลอยไปหาต้นไม้และนั่งร้องให้อยู่ที่ต้นไม้นั้น ครั้นบริวารของ ธนัญชัยเศรษฐีแห่ง แคว้นมัทราชบุรีมาพบก็สอบถามและชวนไปบ้านเศรษฐี เมื่อทราบความเป็นมาเป็นไปแล้วเศรษฐีก็ขอให้นางอาศัยอยู่ด้วยกันและให้นางเป็นหัวหน้าแม่ครัวที่บ้านของเศรษฐี ฝ่ายสุวรรณสังข์อยู่บนแพที่แตกเหลือเพียงเศษเล็กน้อยจะจมแหล่มิจมแหล่อยู่นั้น ไม่นานสุวรรณสังข์กุมารน้อยก็จมลงสู่ก้นมหามหาสมุทร ฝ่ายพญานาคราชที่อยู่เมืองบาดาลนาคพิภพเกิดร้อนลนจึงค้นหาสาเหตุและที่มา เมื่อทราบแล้วจึงรีบไปรับเอากุมารน้อยขึ้นสู่ฝั่งก่อนที่จะหมดลมหายใจ และยังได้เนรมิตแพทองคำอย่างดีมีที่มุงบังลมฝนได้ แล้วให้นาคบริวารดูและรักษาแล้วพาไปถึงฝั่งมหาสมุทร เมื่อถึงฝั่งแล้วพระสุวรรณสังข์จึงเดินเท้าต่อไปด้วยความโศกเศร้าและอาลัยถึงพระมารดา จนเดินทางมาถึงอาศรมของพระฤาษี เมื่อพระฤาษีทราบเรื่องต่างๆแล้ว ก็ขอให้พักอยู่ด้วยกันแต่พระองค์อยากจะเดินทางออกตามหาพระมารดา พระฤาษีจึงให้เดินทางออกไปตามลำน้ำและจะผ่านเมืองยักษ์ก่อน พระโอรสจึงออกเดินทางมากับแพทองคำของพญานาคราชไปตามลำน้ำ
             จนมาถึงเมืองของ นางยักษ์ขิณีพวกยักษ์บริวารชายและหญิงทั้งหลายเมื่อเห็นมนุษย์ตัวน้อยน่ารักก็อยากจะจับกินบ้างบางตนก็อยากได้ไปเลี้ยงไว้ดูเล่น แต่เมื่อเข้าไปใกล้พระกุมารกลับรู้สึกร้อนมากและถูกคลื่นน้ำยักษ์พัดพาแตกกระจายไปคนละทิศคนละทางเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก จนต้องไปแจ้งข่าวให้นางยักษ์ขิณีผู้เป็นนายใหญ่ให้ทราบ ซึ่งนางยักษ์เป็นหม้ายสามียักษ์ได้ตายไปแล้ว นางยักษ์เมื่อเห็นสุวรรณสังข์กุมารผู้น่ารักก็อยากได้เป็นพระโอรส จึงแปลงกายเป็นหญิงสาวงามมารับไปเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรมหวังจะให้ครอบครองอาณาจักรและปกครองเหล่ายักษ์สืบต่อไป โดยนางยักขิณีได้สั่งให้บริวารแปลงกายเป็นมนุษย์เมื่ออยู่ต่อหน้าพระโอรส นางยักษ์ให้การเลี้ยงดูและมอบให้บริวารตั้งพันคอยเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล และห้ามลูกเข้าไปในปราสาทเขตหวงห้ามเด็ดขาด แต่เมื่อพระองค์อยู่มาหลายปีและโตเป็นหนุ่มแล้วก็อยากออกติดตามหาพระมารดา วันหนึ่งได้เข้าไปในปราสาทเขตหวงห้ามได้พบกับกองกระดูกของมนุษย์และสัตว์กองเกลื่อนกลาด พระองค์ตกใจมากและได้ทราบว่าแม่คือยักษ์และเมืองนี้คือเมืองยักษ์นั้นเอง พระองค์เดินขึ้นไปอีกชั้นของปราสาทได้พบกับชุดเกราะเงาะ รองเท้าทอง และพระขรรค์ จึงลองสวมใส่ดู ครั้นเมื่อสวมรองเท้าทองแล้วก็เหาะได้จึงเหาะเล่นในปราสาท แล้วค่อยถอดออก แล้วได้เดินทางมาพบบ่อทองบริเวณทางออกปราสาทจึงเอานิ้วก้อยจุ่มดู นิ้วจึงกลายเป็นนิ้วสีทองและล้างไม่ออกจึงเอาผ้าพันไว้ แม่ยักษ์กลับมาได้สอบถามและเห็นนิ้วก้อยมีผ้าพันจึงเป่าคาถาลบทองออกจากนิ้วก้อยให้ แล้วสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปในปราสาทอีกเด็ดขาด แม่ยักษ์จำต้องอยู่กับลูกและคอยดูแลด้วยตัวเองเพราะพวกบริวารที่ให้ดุูแลพระองค์นั้น กลับปล่อยให้เข้าไปในปราสาทเขตหวงห้ามได้ ซึ่งพระโอรสนั้นดื้อเองไม่เชื่อฟังใครนอกจากแม่ยักษ์เท่านั้น ครั้นหลายวันเข้านางยักษ์ก็ผอมโซและหิวอาหารยักษ์เพราะกินอาหารมนุษย์กับลูกสังข์ไม่อิ่ม จึงบอกว่าพรุ่งนี้แม่จะออกไปธุระนอกเมืองลูกอยู่ทางนี้ต้องเชื่อฟังพี่เลี้ยงและห้ามเข้าไปในเขตหวงห้ามอีกเด็ดขาด 
            ในวันต่อมาเมื่อนางยักษ์ออกไปหากิน พระสุวรรณสังข์ก็ตัดสินใจชุบตัวในบ่อทองแล้วสวมชุดเงาะและรองเท้าทอง พร้อมทั้งเหน็บพระขรรค์แล้วเหาะหนีจากเมืองยักษ์ไป จนถึงเขตเมืองพาราณสีเมื่อเจออาศรมในภูเขาก็ลงไปพักผ่อน ครั้นนางยักษ์ตามมาเจอและอ้อนวอนให้กลับไป พระองค์ก็ไม่ยอมกลับ บอกว่าจะตามหาแม่และบอกว่ามนุษย์กับยักษ์อยู่ด้วยกันไม่ได้ นางจึงขอให้ลูกลงมาเรียนมนต์ทิพย์ในการเรียกฝูงสัตว์ต่างๆทั้งในน้ำ บนดิน และอากาศ ซึ่งสุวรรณสังข์บอกให้เขียนไว้หน้าผาโดยไม่ยอมลงไปแล้วจึงทำการเหาะหนีไป นางยักษ์เสียใจและจะตามลูกไปก็ไม่ได้เพราะสุดเขตของยักษ์ก็เป็นเมืองมนุษย์แล้ว นางเสียใจร่ำให้อาลัยรักลูกจนอกแตกตายที่นั้นเอง พระสุวรรณสังข์จึงเหาะลงมาทำการเผาศพให้มารดายักษ์อย่างโศกเศร้าและอาลัยรักแม่ยักษ์ผู้มีพระคุณมากล้นนั้นเอง เสร็จแล้วจึงเหาะไปเมืองพาราณสีต่อไป เมื่อหิวน้ำเจ้าเงาะก็เหาะลงไปเจอพวกเด็กเลี้ยงโคและได้ขอน้ำกิน ซึ่งพ่อของเด็กเลี้ยงโคคือ นายคามโภชกก็สอบถามและขอให้อยู่อาศัยด้วยกัน โดยช่วยเลี้ยงโคเป็นการตอบแทนข้าวและน้ำ ซึ่งเจ้าเงาะก็ตกลงและอยู่กับครอบครัวนั้น
            ฝ่ายกษัตริย์เมืองพาราณสีมีธิดาแสนสวย ๗ องค์ ซึ่งมีคู่ครองไปแล้ว ๖ องค์เหลือแต่พระธิดาองค์เล็กชื่อ คันธาวดีซึ่งไม่ยอมเลือกใคร พระบิดาจนใจและโกรธยิ่งนักเพราะหาผู้ชายมาให้เลือกหมดแล้ว แต่ก็ยังไม่ถูกใจ จึงได้มีคำสั่งให้สอบถามว่ามีผู้ชายคนใดในเมืองนี้ที่ยังไม่มาให้นางเสี่ยงมาลัยเลือกคู่มีอีกใหม? มีอยู่อีกคนหนึ่งคือเจ้าเงาะป่าบ้าใบ้ในทุ่งนากับเด็กเลี้ยงโคพะยะค่ะไปตามมันมา บัดเดี๋ยวนี้!
            ในคืนก่อนเสี่ยงมาลัยนั้นพระธิดาฝันว่า มีเทวดานำผลไม้ทิพย์ซึ่งรูปรูปร่างค่อนข้างแคะแกร็นมีกลิ่นหอมแค่นๆชึ่งเหล่านรชนไม่ชอบใจมาให้พระนางแล้วพระองค์ก็ได้ผ่าออกมาพบว่ามีแก้วเจ็ดประการแล้วพระองค์จึงนำแก้วนั้นไปประดับพระวรกายแล้วก็ตื่นจากพระบรรทม  ส่วนพระโพธิสัตว์นั้นก็ฝันเช่นกัน คือฝันว่าได้ลงสรงน้ำในสระอโนดาตในป่าหิมพานต์ ซึ่งทำให้พระองค์ดีใจว่าเป็นศุภนิมิตดีแท้
            และในวันเลือกคู่นางได้ตั้งสัจจะอธิษฐานแล้วเสี่ยงมาลัย ซึ่งมาลัยก็ลอยมาสวมข้อมือเจ้าเงาะนั้นเอง ทั้งคู่ต่างดีใจและมีความสุขยิ่งนัก แต่พระราชาและหกเขยรวมทั้งมเหสีทั้งหกไม่ชอบใจเจ้าเงาะ จึงไล่ทั้งคู่ออกไปอยู่ไกลๆจากพระนคร แต่กระนั้นก็ยังไม่พอใจ หกเขยต่างก็ทำการยุแหย่ใส่ร้ายว่าเจ้าเงาะเป็นกาลีบ้านกาลีเมือง จำต้องหาทางฆ่าให้ตายซึ่งพระราชาก็เห็นดีด้วย แต่จะลงมือฆ่าก็จะทำให้ชาวเมืองเขานินทาเอา จึงออกอุบายละวางแผนการอย่างแยบยล ดังนี้
            ครั้งที่ ๑ ออกอุบายให้เขยทั้งเจ็ดไปหาเนื้อ(สัตว์ป่า)มา ถ้าใครหาไม่ได้จะถูกฆ่าตาย (หวังผลว่าเจ้าเงาะบ้าใบ้จะหาไม่ได้และจะถูกฆ่าตายอย่างแน่นอน) ทั้งหกเขยหาเท่าไหร่ก็หาไม่ได้และหากกลับเข้าวังไปมือเปล่า จะต้องถูกพระราชาฆ่าทิ้งอย่างแน่นอน จึงอ้อนวอนขอพรเทวดาขอให้ได้เนื้อกลับเข้าวังด้วยเทอญ เมื่อขอพรเสร็จก็เดินหาเนื้อในป่าต่อไป พลันก็เจอกับเทวดารูปงามเหลืองอร่ามใต้ร่มไม้ใหญ่ และเจอฝูงเนื้อล้อมรอบพระองค์มากมายคณานับ จึงเข้าไปบอกว่าพระราชาหาอุบายฆ่าเจ้าเงาะโดยการให้หาเนื้อไปถวาย แล้วขอเนื้อคนละตัว เทวดานั้นสัญญาว่าจะให้แต่ต้องมีของแลกเปลี่ยน โดยขอใบหูคนละนิดหนึ่ง ซึ่งหกเขยจำต้องยอมให้เทวดาใช้พระขรรค์ตัดใบหูนิดหนี่ง แล้วก็รับเนื้อคนละตัวแล้วลากลับเข้าวังไป ส่วนเจ้าเงาะก็นำเนื้อหลายตัวเข้าวังตามไปหลังจากนั้น สร้างความตกตะลึงและแปลกใจแก่พระราชา ราชินี และหกเขยกับมเหสีทั้งหก  ตลอดจนชาวเมืองเป็นอย่างมาก
            ครั้งที่ ๒ เมื่อการครั้งแรกไม่สำเร็จ ครั้งนี้ได้ออกอุบายให้ไปนำหมูป่ามาให้ หากหามาไม่ได้จะถูกฆ่าตาย ซึ่งก็เหมือนเดิม แต่ครั้งนี้เทวดา(เงาะป่า)ได้ขอนิ้วมือเป็นของแลกเปลี่ยน
            ครั้งที่ ๓  ครั้งนี้เป็นการหาสัตว์น้ำคือปลาไปถวาย ซึ่งก็เหมือนเดิม โดยครั้งนี้พระโพธิสัตว์ได้ขอจมูกหกเขยเป็นการแลกเปลี่ยน
            เมื่อแผนการร้ายทั้งสามครั้งไม่สำเร็จผล และกำลังวางแผนฆ่าเจ้าเงาะแบบใหม่อยู่นั้น ท้าวสักกะเทวราช(พระอินทร์)เกิดร้อนพระที่นั่งกัมพลสิลาอาสน์จึงส่องทิพย์เนตรลงมายังโลกมนุษย์ แล้วก็รู้สาเหตุทำให้พระองค์โกรธพระเจ้าพาราณสีและหกเขยหน้าโง่เหล่านั้นมาก จึงลงมาหาพระเจ้าพาราณสีแล้วตั้งปัญหา ๒ ข้อ และท้าพนันตีคลี ซึ่งพระเจ้าพาราณสีจะแข่งด้วยตนเองหรือหาคนแทนมาแข่งกับพระองค์ให้ได้ภายใน ๗ วันก็ได้ ซึ่งหากไม่สามารถตอบคำถามได้และตีคลีไม่ชนะพระอินทร์ พระองค์จะเอาฆ้อนทุบหัวพระราชาและยึดเอาเมืองพาราณสี ครั้งนั้นพระเจ้าพาราณสีกลุ้มใจมากและหาใครมาก็ตอบปัญหาไม่ได้สักคน ซึ่งทั้งหกเขยก็ไม่สามารถตอบคำถาม ๒ ทั้งข้อนั้นได้ และการเหาะตีคลีบนอากาศนั้นก็ไม่ต้องพุูดถึงแม้ตีอยู่บนดินก็ยังไม่เอาไหนเลย จนเลยไปหกวันแล้วเหลืออีกเพียง ๑ วัน พระเจ้าพาราณสีรู้สึกกระวนกระวาย กลุ้มใจและอับจนหนทางยิ่งนัก พระมเหสีจึงทูลขอให้เจ้าเงาะไปช่วย เพราะเจ้าเงาะมีบุญญาธิการมาก เพราะพระองค์หาทางกำจัดถึง ๓ ครั้งก็รอดมาราวปาฏิหาริย์ทุกครั้ง พระราชาหมดหนทางจำต้องยอมจึงได้ไปเรียกเจ้าเงาะมาเฝ้า ฝ่ายเจ้าเงาะเมื่อถูกขอร้องจากพระราชินีผู้เป็นแม่ยาย และการรบเร้าจากคันธาเทวีเมียรักก็ใจอ่อนจึงรับปากว่าจะช่วย แต่ได้ขอให้เรียกเสนาอำมาตย์ ทหาร และชาวเมืองทั้งหลายมาฟังคำสั่งพระราชา และเป็นสักขีพยานที่ท้องพระโรงในพระมหาราชวังในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งพระราชาก็ยินยอมทำตามทั้งที่ขัดเคืองในพระทัยอย่างยิ่งก็ตาม แล้วพระโพธิสัตว์ก็ประกาศว่ามหาชนจงรู้เห็นและเป็นพยานแก่เราด้วย
    เมื่อฟังประกาศแล้วก็ถอดรูปเงาะป่าออกจากกาย ทรงฉลองพระบาททิพรัตน์ และทรงจับพระขรรค์แก้วด้วยหัตถ์เบื้องขวา เหาะขึ้นไปบนอากาศ งามโอภาสดังสุวรรณราชหงส์ ทรงประทับลอยอยู่ท่ามกลางอากาศ พวกเสนาอำมาตย์และอาณาประชาราษฎรทั้งปวงเห็นพระโพธิสัตว์ทำอาการอย่างนั้นพากันประนมมือและให้สาธุการชมเชยพระโพธิสัตว์โดยอเนกปริยาย ทั้งหกเขยต่างตกตะลึงเพราะคุ้นๆว่าเคยเห็นที่ใหน?
    ท้าวมัฆวานจึ่งเข้าใกล้พระโพธิสัตว์ ถามปัญหาว่า แน่ะ พ่อปราชญ์ สภาวธรรมสิ่งไรย่อมทำให้มืดในโลกนี้และโลกหน้า พ่อปราชญ์จงวิสัชนาความข้อนี้ให้แจ้งชัดแก่พวกเทวดาและมนุษย์ซึ่งมาประชุมกัน ณ พื้นดินถึง ณ พื้นอากาศด้วยเทอญ พระโพธิสัตว์เมื่อจะกล่าวแก้ปัญหา จึ่งทูลว่า ข้าแต่ท้าวสักเทวราช บุคคลผู้ใดทำโทษแก่ผู้อื่นที่ไม่มีความผิด ทำคนอื่นให้วิวาทซึ่งกันและกัน และทำปัญจานันตริยกรรม(อนันตริยกรรม) มีฆ่ามารดา ฆ่าบิดา เป็นต้น ไม่ฟังธรรมคำสอนของนักปราชญ์ กอปรด้วยปาปจิต บุคคลผู้นั้นชื่อว่าทำความมืดในโลกนี้และโลกหน้า ข้าแต่เทวราช พระองค์จงทราบเนื้อความอย่างนี้แล ทีนั้น สรรพเทวามีท้าวสักกะ เป็นต้น ได้กระทำบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยข้าวตอกและดอกไม้ แล้วให้สาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหวไปทั้ง ๓ ภพเลยทีเดียว
ท้าวสหัสนัยน์จึ่งถามปัญหาที่สองว่า แน่ะ พ่อปราชญ์ สภาวธรรมสิ่งไรเป็นแสงสว่างในโลกนี้และโลกหน้า พ่อปราชญ์จงวิสัชนาความข้อนี้ให้แจ้งชัด พระโพธิสัตว์จึ่งทูลว่า ข้าแต่ท้าวสักเทวราช บุคคลผู้ใดตั้งอยู่ในศีลห้าศีลแปด และบริจาคทานแก่ยาจก หมั่นสดับธรรมคำสอนของนักปราชญ์ มีจิตเมตตาปรานีแก่สัตว์ทั่วไป ตั้งอยู่ในคุณพระรัตนตรัย ตลอดถึงมรรคและผล บุคคลผู้นั้นชื่อว่าสว่างไพโรจน์ในโลกนี้และโลกหน้า อนึ่ง บุคคลผู้ใดเจริญจตุพรหมวิหารได้เป็นนิตย์ มิได้ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกไป บุคคลผู้นั้นชื่อว่าสว่างไพโรจน์ในโลกทั้งสอง คือ โลกนี้ และโลกหน้า เมื่อพระโพธิสัตว์แก้ปัญหาที่สองจบลงครั้งนั้น เทพดาและมนุษย์ต่างกระทำบูชาและให้สาธุการเหมือนนัยหนหลัง
ท้าวมัฆวานจึงท้าประลองตีคลีบนท้องฟ้านภากาศ ซึ่งเป็นปรากฎการณ์งดงามและอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งคู่ตีคลีบนหลังม้าวิเศษบนอากาศ ต่างต่อสู้รุกรับอย่างถึงพริกถึงขิงโดยไม่มีใครเพลี่ยงพล้ำสร้างความหวาดเสียวและตื่นเต้นตกใจแก่ทุกคนและเหล่าเทพบุตรเทพธิดา ตลอดจนพรหมทั้งหลายที่เฝ้าดูอย่างใจจดใจจ่อยิ่งนัก เมื่อเวลานานไปใกล้ค่ำท้าวสักกะเทวราชรู้สึกเหนื่อยและเห็นว่าพยศของพระจ้าพาราณสีและหกเขยหน้าโง่หมดลงแล้ว พระอินทร์ก็ยอมแพ้และขี่ม้าหนีไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระองค์ไป เสียงไชโยโห่ร้องในชัยชนะของพระมหาสัตว์ดังกึกก้องสะเทือนไปทั้ง ๓ ภพเลยทีเดียว
แล้วพระเจ้าพาราณสีและชาวเมืองต่างก็ตกลงทำการอภิเษกให้พระโพธิสัตว์และพระมเหสีคันธาเทวีขึ้นครองราชย์สมบัติ ซึ่งพระองค์ทรงปกครองด้วยทศพิธราชธรรม และชาวเมืองต่างก็รักษาศีลและปฏิบัติธรรมด้วยความสงบสุขยิ่ง พระองค์ทรงคิดถึงพระมารดาจึงได้ออกติดตามและค้นหาไปทุกแคว้น จนถึงแคว้นมัทราช จนมาถึงบ้านของธนัญชัยเศรษฐี เมื่อมาถึงบ้านเศรษฐีก็ได้ทักทายและสอบถามความเป็นมาเป็นไปกันแล้ว ก็เลยเชิญพักผ่อนเสวยอาหารก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป แม่ครัวจึงได้ทำอาหารมาให้พระโพธิสัตว์เสวย ซึ่งรสชาตินี้พระองค์คุ้นๆ และรู้สึกอร่อยมาก พระองค์นึกถึงฝีมือปรุงอาหารของพระมารดาสมัยเยาว์วัย จึงสอบถามและได้เรียกแม่ครัวมาสอบถามถึงความเป็นมาเป็นไป นั้นเองพระองค์รู้แล้วว่าแม่ครัวคนนี้คือพระมารดาจันทาเทวีอย่างแน่นอน และพระมารดาก็ดีพระทัยมาก พระนางมั่นใจทีเดียวว่าพระเจ้าพาราณสีพระองค์นี้ก็คือโอรสของพระนางอย่างแน่นอน ทั้งสองพระองค์กอดกันและพิไรรำพันอย่างน่าเวทนาและตื้นตันใจยิ่งนัก แล้วพระองค์ก็ทูลเชิญพระมารดาเข้าไปอยู่ในพระราชวังด้วยกัน แล้วสถาปนาพระมารดาให้เป็น สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงอีกด้วย
ด้วยทศพิธราชธรรมและพระบรมเดชานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์บ้านเมืองมีความสงบสุข พสกนิกรจากแคว้นอื่นๆต่างอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร จนในวันหนึ่งพระราชาแห่งเมืองพรหมนครได้รับรายงานจากผู้เก็บภาษีว่าการเก็บรายได้ลดลงไปมากเพราะชาวบ้านชาวเมืองอพยพออกไปอยู่แคว้นพาราณสีมาก เพราะกษัตริย์พระองค์นั้นมีบุญญาธิการและปกครองไพร่ฟ้าด้วยทศพิธราชธรรม ซึ่งพระองค์ก็คือเพราะโอรสสังข์ทองของพระองค์นั้นเอง เมื่อทราบดังนั้นพระเจ้าพรหมทัตดีพระทัยมาก อยากจะไปเชิญพระโอรสมาปกครองเมืองพรหมนครต่อจากพระองค์ผู้เป็นบิดายิ่งนัก ได้เฝ้าปรึกษาและขอร้องให้ปุโรหิตและเสนาบดีผู้ใหญ่ไปทูลเชิญพระโอรสมาปกครองบ้านเกิดเมืองนอนของตน ซึ่งมหาเสนาบดีจึงรับอาสาจะทำการนี้ให้สำเร็จ
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ด้วยแรงกตัญญูจึงล่ำลาชาวพาราณสีอย่างอาลัย พสกนิกรต่างอาลัยรักใคร่เสียดายพระองค์ แต่ด้วยคุณธรรมและความกตัญญู แล้วทั้ง ๓ พระองค์ คือ พระโพธิสัตว์ พระนางจันทาเทวี และพระนางคันธาเทวี จึงเดินทางมาที่พรหมนครบ้านเกิดเมืองนอนของพระโพธิสัตว์ แล้วก็ได้รับการอภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติแทนพระบิดา ฝ่ายพระมารดาจันทาเทวีนั้นพระนางไม่ยอมเป็นพระมเหสีของพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ขออยู่กับลูกเพราะไม่ต้องการให้ใครต้องกล่าวหาว่าเป็นกาลกิณีอีก แต่พระสวามีไม่ยอม จึงได้ถามนางจัมปากเทวีว่าใครคือ กาลกิณีนางตอบว่าพระมเหสีจันทาเทวี พระนางจันทาเทวีเสียใจยิ่งนักพระนางต้องการพิสูจน์ว่าพระนางบริสุทธิ์ จึงขอทำพิธี ลุยไฟเพื่อพิสูจน์เป็นทิพยพยาน ซึ่งพระนางได้ตั้งสัจจะอธิษฐานก่อนทำพิธี ทำให้ขณะพระนางลุยไฟได้เกิดมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับเท้าของนางและเปลวไฟก็เย็นสบายดีทำให้นางบริสุทธิ์ปลอดภัย ด้วยแรงอกุศลกรรมบันดาลให้นางจัมปากเทวีมเหสีผู้ชั่วร้ายตัดสินใจขอทำพิธีลุยไฟด้วยเช่นกัน ซึ่งไฟก็ได้เผาไหม้นางอย่างมอดไหม้ พระนางร้องโหยหวนและมีทุกขเวทนายิ่งนัก แล้วก็ลงนรกอเวจีทันทีที่จิตออกจากร่างไป
ฝ่ายปาลกเสนาบดีครั้นทราบว่าพระโพธิสัตว์กลับมาครองเมืองพรหมนครแล้ว ก็รีบหนีออกจากพระนครไป เพราะกลัวความชั่วช้าของตัวเองจะถูกเปิดโปงและต้องรับโทษหนัก  โดยหนีไปอาศัยเมือง ปัญจาลธานีแล้วไปยุยงแจ้งความเท็จแก่เจ้าเมืองว่า พระสุวรรณสังข์กำลังซ้อมรบเตรียมการบุกโจมตีปัญจาลธานี โดยตนขออาสาเป็น ทัพหน้านำทหารจากเมืองปัญจาลธานีจำนวนเจ็ดอักโขเภณี ไปรบและจับตัวสุวรรณสังข์พระราชาองค์ใหม่ของพรหมนครก็คงจะชนะไม่ยาก เพราะยังเยาว์วัยและใหม่ในการปกครองบ้านเมืองและการสงคราม ซึ่งเจ้าเมืองปัญจาลธานีเห็นดีด้วยจึงให้ทหารเป็นกองทัพใหญ่จำนวนเจ็ดอักโขเภณีแก่ปาลเสนาบดีให้ไปรบกับเมืองพรหมนครโดยพระองค์จะนำทัพหลวงออกติดตามไปทีหลัง เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบความก็ตกพระทัยเพราะข้าศึกมามากมายเป็นกองทัพใหญ่ และไม่ทันได้ตั้งตัว อีกทั้งพระองค์รักสันติไม่อยากให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของบ้านเมืองแต่อย่างใด จึงครุ่นคิดหาทางออกว่าจะทำประการใด
พระองค์นึกถึงพระมารดายักษ์ขิณีว่าพระนางอาจช่วยได้ จึงทำสมาธิเข้าฌานสมาบัติแล้วก็ได้ทราบว่ามารดายักษ์ไปเกิดเป็นเทพธิดาอยู่ในสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกานางเป็นเทพธิดานั้นเอง จึงได้สวมรองเท้าทองแล้วเหาะขึ้นไปพบพระมารดา แล้วแจ้งความประสงค์ ครั้นเทพธิดาสดับทราบความแล้ว ก็ให้มีความเมตตาต่อพระสุวรรณสังขราชกุมาร จึ่งประทานพระขรรค์ทิพย์ชื่อ สิริชัยให้แก่พระสุวรรณสังขราชกุมาร แล้วบอกว่า พ่อจงรับเอาพระขรรค์แก้วแล้วด้วยเทวฤทธิ์ที่มารดาให้ไปนี้ ถ้าหากว่าปัจจามิตรมาข่มเหงแย่งราชสมบัติของพ่อไซร้ พ่อจงเหาะขึ้นบนอากาศ แล้วเอาพระขรรค์แก้วแกว่งบนศีรษะของพ่อไว้ หมู่ปัจจามิตรจะพ่ายแพ้กลับไปด้วยอำนาจ รัตนขรรคาวุธพ่อราชบุตรจงทำตามมารดาสั่งดังนี้
พระสุวรรณสังราชกุมารรับเอารัตนขรรคาวุธอันให้สำเร็จความปรารถนาจากเทวธิดาแล้ว ก็อำลากลับมาสู่ยังสำนักของราชบิดาและราชมารดาบนโลกมนุษย์ แล้วจึงกราบบังคมทูลว่าพระองค์จะขออาสาออกรบกับข้าศึกศัตรูด้วยพระองค์เอง จึ่งพร้อมด้วยพลเสนาเสด็จออกจากพระนคร แล้วได้เหาะขึ้นบนอากาศ แล้วแกว่งทิพรัตนขรรคาวุธตามที่นางเทวธิดาบอกไว้ รัศมีพระขรรค์แก้วก็ลุกโพลงตกลงมาเสียงดังประเปรี้ยงเหมืองเสียงอสนีบาต ประหนึ่งว่าจะทำมหาโยธาข้าศึกให้ตายไปหมดด้วยกัน พวกเสนานับได้เจ็ดอักโขเภณีประหนึ่งว่าจะมีศีรษะแตกออกไป พากันร้องขอชีวิตต่อพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระมหาราช ข้าพระบาททั้งหลายจะไม่คิดประทุษร้ายต่อพระองค์ ขอพระองค์จงประทานชีวิตให้พวกข้าพระเจ้าเถิดพระเจ้าข้า
ฝ่ายปาลกเสนาบดีก็ไม่อาจดำรงตนอยู่ได้ ด้วยอิทธานุภาพแห่งพระขรรค์แก้วสิริชัย จึ่งพลัดจากคอช้างตกลงไป ณ ปฐพี วิบากแห่งอกุศลความอกตัญญูให้ผล ปฐพีดลอันหนาได้สองแสนสี่หมื่นโยชน์ก็เปิดช่องให้ ปาลกเสนาบดีก็จมลงไปไหม้อยู่ในอเวจีนรกทันที ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงพระกรุณาแก่มหาชนเป็นอันมาก จึ่งตรัสว่า พวกมหาโยธาทั้งหลาย พระเจ้ากรุงปัญจาลราชทรงเชื่อคำปาลกเสนาบดีคนลามก ให้ยกกองทัพมาทำสงครามกับเราผู้หาความผิดมิได้ และละสัปปุริสธรรม แล้วทำซึ่งอธรรมทางอบาย แต่นี้ไปท่านทั้งหลายจงอย่าทำบาปกรรมเช่นนี้ต่อไปเป็นอันขาด ทรงให้โอวาทต่อไปอีกว่า บุคคลผู้ใดฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทำปรทารกรรม กล่าวปด เสพสุราเมรัย บุคคลผู้นั้นจักถึงความพินาศเหมือนปาลกเสนาบดี อนึ่ง ฝ่ายกุศลธรรม คือ ศีล ทาน ธรรมสวนะ และเมตตา ภาวนา กุเลเชฏฐาปจายิกกรรม เหล่านี้มีคุณยิ่งใหญ่ ผู้ใดไม่ประมาทในธรรมที่เราสอนแล้วนี้ ผู้นั้นจุติจากโลกนี้แล้วจักไปเกิดในสวรรค์ด้วยกุศลธรรมอันนั้น ทรงให้โอวาทแล้วก็ส่งพวกโยธาให้กลับไปยังปัญจาลนคร ส่วนพระองค์ก็เสด็จคืนเข้าพระราชฐานของพระองค์
ฝ่ายพวกเสนาโยธากลับมาถึงปัญจาลนครแล้ว จึ่งเข้าเฝ้าพระราชาของตน กราบบังคมทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ข้าพระพุทธเจ้าเหล่าโยธามีปาลกเสนาบดีเป็นต้นซึ่งพระองค์ส่งไป ได้พร้อมกันเข้าล้อมเมืองพรหมนครไว้ถึงเจ็ดชั้น พระสุวรรณสังขราชกุมารมีบุญญาธิการมากนัก เหาะขึ้นบนอากาศ ทรงแกว่งพระแสงขรรค์แก้ว ณ ท่ามกลางโยธา ด้วยอานุภาพขรรคาวุธ เกิดเป็นแสงสว่างตกลงมาดังประเปรี้ยงเพียงดังสายฟ้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมืดหน้ามัวตาหาสติมิได้ถึงปราชัยพ่ายแพ้ แต่ปาลกเสนาบดีพลัดจากคอช้างตกถึงแผ่นดิน แผ่นดินได้สูบปาลกเสนาบดีผู้อกตัญญูไม่รู้จักคุณเจ้านายของตนไปทั้งเป็น พระสุวรรณสังขราชกุมารเสด็จลงจากอากาศประทานโอวาทแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหล่าโยธา แล้วส่งให้กลับมาเมืองนี้ ขอพระองค์จงทราบด้วยประการฉะนี้ พระเจ้ากรุงปัญจาลราชทรงฟังดังนั้น ทรงพระเกษมสันต์และสรรเสริญพระสุวรรณสังขราชกุมาร รับสั่งให้จัดเครื่องบรรณาการไปถวายเป็นอเนกประการ
พระสุวรรณสังขราชกุมารทรงทรมานพวกปัจจามิตรเสร็จแล้ว จึ่งเสด็จเข้าพระนคร ยังราษฎรให้ตั้งอยู่ในโอวาท ดำรงราชสมบัติโดยชอบธรรม มีพระเดชานุภาพและเกียรติยศปรากฏไปในนานาประเทศ มหาชนมีพระราชาเป็นต้นในนานาประเทศต่างน้อมนำเครื่องบรรณาการมาถวายพระสุวรรณสังข์เป็นเนืองนิตย์ มหาชนมีพระราชาเป็นต้นตั้งอยู่ในโอวาทแล้วก็ปราศจากภยุปัทวันตราย และพากันทำบุญมีทานเป็นต้น เมื่อสิ้นอายุของตนก็ได้ไปเกิดในเทวโลก ส่วนพระโพธิสัตว์เมื่อก่อสร้างโพธิสมภารอยู่ได้บำเพ็ญกุศลมีทานและศีลเป็นต้น สิ้นพระชนม์แล้วก็ไปอุบัติในเทวสถานด้วยประการฉะนี้


 ประเพณีพื้นบ้าน

ตุงล้านนา
ประวัติของตุงล้านนา
ชาวล้านนาแต่โบราณมีคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงค์การทานตุงอยู่มาก ซึ่งเล่าสืบต่อกันมา หลายชั่วอายุคน
ดังตัวอย่างเล่าว่า มีกาเผือกคู่หนึ่งออกไข่มา ๕ ฟอง อยู่บนต้นไม้ เมื่อเกิดลมพายุ ไข่ทั้งหมดได้พลัดตกลงมา ครั้นพ่อแม่กาเผือกกลับมาไม่เห็นไข่ของพวกตน ก็เกิดความโศกเศร้า จนตรอมใจตายแล้วได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ ไข่ทั้งห้าใบต่างถูกไก่ เต่า พญานาค โค และคนซักผ้านำไปเลี้ยง จนเติมโตเป็นชายหนุ่มทั้งห้าคน ต่างคนต่างก็มีจิตใจอยากบวช จึงบวชจนสำเร็จญาณและมาพบกันโดยบังเอิญ ทั้งห้าองค์มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ให้กำเนิด จึงได้สร้างตุงถวายอุทิศให้ กะกุสันทะซึ่งไก่เป็นผู้เลี้ยงสร้างรูปไก่ โกนาคมนะรูปนาค กัสปะรูปเต่า โคตมะรูปวัว และอริยะเมตรัยรูปค้อนทุบผ้า เมื่อสร้างตุงเสร็จแล้ว ก็ทำถวายอุทิศ แต่ไปไม่ถึงผู้ให้กำเนิด กาเผือกจึงต้องมาบอกให้ทำเป็นประทีปรูปตีนกาจุดไปจึงจะอุทิศไปถึง
ตุงสมัยก่อนของชาวเหนือ จึงสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้าทั้งห้าองค์ การทำตุงถวายจึงเปรียบเสมือนตัวแทนสักการะ
ของการแผ่กุศล กตัญญูกตเวทีไปถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เราอาจเห็นตุงที่มีรูปไก่ยืนอยู่บนหัวตุงหมายถึงไก่ ส่วนลำตัวและใบของตุงแทนรูปนาค ลวดลายต่าง ๆ เป็นตารางเกล็ด หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หมายถึงเต่า และส่วนประดิษฐ์เป็นรูปกลม หมายถึงตาวัวหรือวัว
 นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันว่าวิญญาณผู้ตายนี้สามารถยึดหรือปีนป่ายตุงขึ้นสวรรค์ได้ ดังเรื่องเล่าว่า กาลครั้งหนึ่งมีนายพรานซึ่งเข้าไปล่าสัตว์ในป่านานนับสิบ ๆ ปี ผ่านไปที่วัดเห็นตุงที่แขวนอยู่โบกสบัดสวยงามมาก เมื่อกลับมาถึงบ้านจึงได้ทำตุงขึ้นเพื่อที่จะไปถวายวัดบูชาพระประธาน ครั้นเมื่อเขาตายไป ถูกตัดสินส่งลงนรก เนื่องจากไม่เคยทำความดีเลย มีแต่ฆ่าสัตว์ ยกเว้นแต่ทำตุงถวายวัดเท่านั้น เมื่อถูกตัดสินให้ตกนรก ตุงผืนที่เขาทำนั้นได้มาพันดึงเขาให้พ้นจากนรก นำขึ้นสู่สวรรค์ได้
ชาวเหนือจึงมีความเชื่อว่า การถวายหรือทานตุงนั้นมีอานิสงค์หรือได้บุญอย่างมาก
 "ตุง" ของล้านนา
มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำตุงนั้นมีหลายอย่าง
เช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น
ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา โดยมีขนาด รูปร่าง และ รายละเอียดด้านวัสดุตกแต่ง
แตกต่างกันไป ตามความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย

วัตถุประสงค์ของการทำตุง
1. เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ หมายถึง ธงที่เป็นเครื่องหมายพวกหรือเผ่าต่างๆกำหนดสีสันให้รู้จักจำง่ายเหมือนกับ ชาติทั้งหลายในโลกที่ใช้ธงเป็นเครื่องแทนปรัชญาหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. เพื่อใช้เป็นเครื่องพิธี หมายถึง การนำตุงหรือช่อธงในพิธีเครื่องบูชาเซ่นสรวง อย่างเช่นการบูชาท้าวจตุโลกบาลเป็นต้น หากไม่มีช่อธุงหรือธง ถือว่าพิธีไม่ครบถ้วน อันเป็นข้อบกพร่อง ทำให้พิธีเสียหรือไม่สมบูรณ์
3. เพื่อเป็นศักดิ์ศรีแก่เทพเจ้า หมายถึง เทพที่สำคัญทั้งหลาย เช่น พระอินทร์ พระนารายณ์ มีช่อธงเป็นเครื่องหมาย เช่นพระอินทร์มีธงสีเขียว เป็นต้น แม้สมมติเทพ เช่น พระมหากษัตริย์ ก็มีธงเป็นเครื่องหมายแห่งยศ และศักดิ์ศรี
4. เพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หมายถึง การมีธุงหรือมีช่อประจำอยู่ เช่นเหล่ากองทหารต่างมีธงชัยเฉลิมพลอันเป็นเครื่องหมายแห่ง
เกียรติยศของกองทหารนั้นทำให้ทหาร ภูมิใจในความเป็นทหารของตน
ตุง กับงานประเพณีต่างๆ
เช่น งานปีใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประชาชนจะทำเครื่องสักการะ
คือ ธูป น้ำส้มป่อย ตุง และ ช่อตุงหรือธุง อันเป็นเครื่องสักการะ
มี 4 ประเภท คือ
1. ตุงเดี่ยว หรือตุงค่าคิง สำหรับบูชาแทนตนเอง
2. ตุงไส้หมู บูชาพระเจดีย์ พระธาตุทั้งหลาย
3. ตุงไจยหรือธงไชย ถวายบูชาพระพุทธรูป เพื่อสร้างความสวัสดีมีชัย
4. ช่อหรือธงชัย สำหรับปักเครื่องบูชาต่าง ๆ






Tung est le drapeau attribué à l'un des art de Lanna. Trouvé dans le nord de la Thaïlande, fait de bois, métal, tissu, fil, ou d’une longue bande de papier,
 il est accroché en signe de croyance ou pour des cérémonies. Il y  a différentes formes en fonction de l'usage du rituel Tung.